วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความหมายของสี

ความหมายของสี

สีแดง

ความหมาย: ความเข้มแข็ง มีพละกำลัง, ความโกรธ, กิเลส, ความหมกมุ่นทางเพศ, แจ่มใส, กล้าหาญ, ไฟ, ร้อนแรง, การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว, ความปรารถนา, เลือด, มีชีวิตชีวา, แรงขับเคลื่อน, ความเสี่ยง, ความรัก, การอยู่รอด, สงคราม, อันตราย, การปฏิวัติ, แข็งกร้าว, พลังอำนาจ, เด็ดเดี่ยว, รสชาติดี, เป็นผู้นำ, ตื่นเต้น, ความเร็ว, ความร้อน, ความอบอุ่น, รุนแรง, การดึงดูดความสนใจ, โรแมนติก
สีแดงสด ความสนุกสนาน, เรื่องทางเพศ, กิเลส, ความเฉียบแหลม, ความรัก, ความลังเล
สีแดงเข้ม ความมุ่งมั่น, ความคลั่งไคล้, ความโกรธ, ความตึงเครียด, ความเป็นผู้นำ, ความโหยหา, การปองร้าย
สี Maroon (แดงเลือดนก) ความลังเล
จิตวิทยา: สีแดงจะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญในร่างกาย, เพิ่มอัตราการหายใจ, เพิ่มการขับเหงื่อ, ช่วยเจริญอาหารและเพิ่มความดันโลหิตได้ค่ะ
รู้หรือไม่: สีแดงนั้นช่วยให้ข้อความหรือรูปภาพดูเด่นขึ้นได้ วัตถุที่มีสีแดงจะดูใหญ่ขึ้นและดูใกล้ขึ้นกว่าความเป็นจริง ส่วนสีแดงสด อาจเคืองสายตาได้ถ้าใช้บนพื้นที่หรือวัตถุที่ใหญ่เกินไป แต่ถ้าต้องการให้ดึงดูดผู้คน สีแดงนี่เลยค่ะดีที่สุด เพราะจะทำให้มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ป้าย SALE ต่างๆ ไฟแดงตามสี่แยก หรือป้ายจราจรค่ะ
เมื่อใช้ร่วมกับสีอื่น: ไม่แนะนำให้ใช้สีแดงสดร่วมกับสีฟ้าสดค่ะ เพราะมันไม่ดีกับสายตา ส่วนสีแดงถ้าใช้ร่วมกับสีเขียวก็ควรมีสีอื่นมาแทรกบ้างอย่ามีแค่สองสีนี้
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ยุโรป: อันตราย (ใช้กับป้ายจราจร เช่น ป้ายหยุดรถ), ความรัก (รูปหัวใจ), ความตื่นเต้น (ป้าย SALE)
  • จีน: สีของชุดเจ้าสาว, ความโชคดี, การเฉลิมฉลอง, ความสุข, สนุกสนาน, มีอายุยืนยาว, เรียกประชุมหรือกำลังพล
  • ญี่ปุ่น: ชีวิต
  • อินเดีย: ความบริสุทธิ์
  • ชาวตะวันออก: ความสนุกสนาน (เมื่อใช้กับสีขาว)
  • ชาวฮิบบรู: การเสียสละ, บาป
  • อเมริกัน: คริสต์มาส (ใช้กับสีเขียว), วาเลนไทน์ (ใช้กับสีขาว)
  • แอฟริกาใต้: เศร้า
  • ชาวอะบอริจิ้นในออสเตรเลีย: แผ่นดิน,
  • ชาวโรมัน: ใช้ธงสีแดงเป็นสัญลักษณ์ในการเริ่มโจมตีข้าศึก
  • ฮวงจุ้ย: หยาง, ไฟ, โชคดี, เงินทอง, เคารพ, การป้องกัน, ยอมรับนับถือ

สีชมพู

ความหมาย: อบอุ่น, มีพลัง, ความสมดุล, กระตือรือร้น, มีชีวิตชีวา, พละกำลัง, ขยับขยาย, หรูหรา, ตื่นเต้น, เป้าหมายธุรกิจ, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, ทะเยอทะยาน, ความสำเร็จ, เกี่ยวกับกฎหมาย, การขาย, การแสดง, ดวงอาทิตย์, เป็นมิตร, สนุกสนาน, เข้มแข็ง, อดทน, รอบรู้, การกุศล, น่าหลงใหล, ความสุข, เป็นมิตร, การเริ่มต้น, ความคิดสร้างสรรค์, กำลังใจ, อบอุ่น, น่าสนใจ, อิสระ, งบประมาณน้อย, หนุ่มสาว
สีชมพูอ่อน วัยแรกรุ่น, บอบบาง
สีชมพูสด วัยรุ่น, กำลัง, มีเจตนาดี
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ยุโรป: ผู้หญิง, เด็กผู้หญิง
  • อินเดียแถบตะวันออก: เป็นสีแสดงความเป็นผู้หญิง
  • ญี่ปุ่น: เป็นสีที่ใช้กันมากทั้งหญิงและชาย
  • เกาหลี: ความไว้ใจ
  • ฮวงจุ้ย: หยิน, ความรัก

สีส้ม

ความหมาย: โรแมนติก, ความรัก, มิตรภาพ, ผู้หญิง, ความจริง, นิ่งเฉย, หวังดี, เยียวยาความรู้สึก, ความสงบ, ความห่วงใย, เอาใจใส่, รสหวาน, กลิ่นหอม, บอบบาง, ละเอียดอ่อน
สีส้มอ่อน เช่น ลูกแอปปริคอท, ปะการัง, ลูกพีชและแคนตาลูป หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญ
สีส้มเข้ม หมายถึง หลอกลวง, ไม่ไว้วางใจ
สีส้มแดง หมายถึง ความปรารถนา, เรื่องทางเพศ, ความแข็งกร้าว, การครอบครอง
สีส้มสด เช่น ส้ม หมายถึง เกี่ยวกับสุขภาพ
จิตวิทยา: ในร้านอาหาร สีส้มถือว่าเป็นสีที่ช่วยกระตุ้นการเจริญอาหาร ส่วนการตกแต่งด้วยสีส้มก็ช่วยเรื่องการค้าขาย นอกจากนี้สีส้มยังช่วยเพิ่มออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงสมอง และช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง
รู้หรือไม่: เมื่อใช้ส้มเป็นพื้นหลังช่วยให้รูปดูใกล้และใหญ่กว่าความเป็นจริง แต่ต้องระวังอย่าใช้เยอะเกินไปนะคะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ยุโรป: ฤดูใบไม้ร่วง, การเก็บเกี่ยว, ความคิดสร้างสรรค์
  • อเมริกัน: ฮัลโลวีน, ของราคาถูก
  • ฮวงจุ้ย: หยาง, ดิน, เข้มแข็ง

สีน้ำตาล

ความหมาย: มิตรภาพ, เทศกาลพิเศษ, พื้นดิน, วัตถุนิยม, ความจริง, สะดวกสบาย, ทนทาน, มั่นคง, เรียบง่าย, อายุยืน, สนิทสนม, เงียบสงบ, ราคะ, เข้มแข็ง, การผลิต, นิ่งเฉย, ทำงานหนัก, น้ำใจ, สิ่งสกปรก, การปฏิบัติการ
ถ้าใช้สีน้ำตาลสีเดียวนั้น มันก็จะดูไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่ ออกจะดูทึมๆ ทื่อๆ ด้วยซ้ำ นานัวร์แนะนำว่าให้ใช้คู่กับสีอื่นหรือแต่งโดยใช้เทคนิด texture เข้าช่วยค่ะ เช่นพื้นไม้ เป็นต้น
สีน้ำตาลแดง ฤดูเก็บเกี่ยว, ฤดูใบไม้ร่วง
สีเนื้อ หยาง, เชี่ยวชาญ, ความเรียบร้อย
สีน้ำตาลทองแดง เป้าหมายทางการเงิน, หลงใหล, ผลทางธุรกิจ, ความก้าวหน้าในอาชีพ
สีน้ำตาลกาแฟ เชี่ยวชาญ, เข้มข้น, ทนทาน
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ชาวอะบอริจิ้นในออสเตรเลีย: สีของผืนดิน
  • ฮวงจุ้ย: หยาง, ดิน, อุตสาหกรรม

สีทอง

ความหมาย: ร่ำรวย, พระเจ้า, ชัยชนะ, ปลอดภัย, อำนาจของผู้ชาย, ความสุข, ขี้เล่น, เคารพ, เฉียบแหลม, น่าเกรงขาม, ปรารถนาอำนาจ, อำนาจลึกลับ, วิทยาศาสตร์, ความมุ่งมั่น
เมืองนอกเค้าสำรวจมาว่า ใช้สีทองกับสีน้ำเงิน navy blue ในเรื่องการขายของให้กับผู้ชายจะดีที่สุดค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ทั่วโลก: ความสำเร็จ, คุณภาพดี, เงิน
  • ฮวงจุ้ย: หยาง, เหล็ก-โลหะ

สีเหลือง

ความหมาย: พระอาทิตย์, ฉลาด, เบา, ความทรงจำ, จินตนาการ, ความร่วมมือ, องค์กร หมู่คณะ, แสงอาทิตย์, ความสุข, พลังงาน, มองโลกในแง่ดี, บริสุทธิ์, กระตือรือร้น, อบอุ่น, มีเกียรติ, ภักดี, ความชัดเจน, แนวคิด, ความเข้าใจ, เฉียบแหลม, ทรยศ, ไม่ซื่อ, ขึ้หึง, อ่อนแอ, ระมัดระวัง, ผู้ตาม, มั่นใจ, อารมณ์ขัน, เพ้อฝัน, ความคิดสร้างสรรค์, เป็นต้นแบบ, ความหวัง, ฤดูร้อน, ไม่แน่นอน, มีชื่อเสียง
สีเหลืองหม่น ระมัดระวัง, ผุพัง, ป่วย
สีเหลืองอ่อน สดชื่น, สนุกสนาน, รอบรู้
สีครีม ความเงียบ, ร่าเริง, สงบ, บริสุทธิ์, นุ่มนวล, อบอุ่นมากกว่าสีขาว
จิตวิทยา: สีเหลืองจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้กล้ามเนื้อมีกำลังและช่วยดึงดูดความสนใจ
รู้หรือไม่: สีเหลืองเป็นสีที่เห็นได้เด่นที่สุดกับตาของมนุษย์ค่ะ ถ้าคุณต้องการให้ข้อความหรือสิ่งไหนสะดุดตาคนดู ก็สีเหลืองนี่เลยค่ะ เวลานักเรียนเรียนในห้องที่ทาสีเหลืองทำให้ทำข้อสอบได้ดีขึ้น (นี่เค้าว่ามาอีกทีนะคะ) สีเหลืองสดใสใช้ดีกับการโปรโมทอาหาร เช่น ลองเอากล้วยหรือผลไม้สีเหลืองอื่นๆ ไปวางผสมกันกับผลไม้หรือผักสีเขียวอื่นๆ ก็ดูดึงดูดสายตาดีค่ะ ส่วนของเล่นเด็กถ้าใช้สีเหลืองเป็นไฮไลท์หรือฉลากก็ดูเด่นขึ้นค่ะ แต่ถ้าใช้สีเหลืองมากเกินไปก็เป็นการรบกวนสายตาได้ ส่วนสีเหลืองใช้คู่กับสีดำ หมายถึงการเตือน เช่นป้าย Baby on Board ที่ป้ายมือใหม่หัดขับที่ไว้ติดหลังรถค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ยุโรป: ความหวัง, ความสุข, สิ่งอันตราย, อ่อนแอ, แท็กซี่
  • เอเชีย: สักการะบูชา, ยิ่งใหญ่, จักรพรรดิ์
  • จีน: การเลี้ยงดู, ราชวงศ์
  • อียิปต์: เศร้าโศก
  • ญี่ปุ่น: กล้าหาญ
  • อินเดีย: พ่อค้า
  • ศาสนาพุทธ: ปัญญา
  • ฮวงจุ้ย: หยาง, ผืนดิน, เป็นมงคล, อบอุ่น, แสงอาทิตย์

สีเขียว

ความหมาย: แผ่นดินแม่, การแพทย์, อุดมสมบูรณ์, การเกษตร, การเติบโต, อาหาร, ความหวัง, ต่ออายุ, หนุ่มสาว, มั่นคง, ทนทาน, สดชื่น, ธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม, เงียบสงบ, อมตะ, สุขภาพ, การรักษา, โชคดี, หึงหวง, สามัคคี, ใจกว้าง, ปลอดภัย, อิจฉา, โชคร้าย, การทูต, สนุกสนาน, สมดุล, ไม่มีประสบการณ์, แบ่งปัน, มิตรภาพ
จิตวิทยา: สีเขียวสามารถลดความดันเลือดได้ ช่วยลดอาการตื่นเต้น และช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สีเขียวนี้ทำให้สบายตาและช่วยให้ทัศนวิสัยดีขึ้น รูปที่มีพื้นหลังเป็นสีเขียวจะทำให้รูปนั้นดูไกลขึ้นค่ะ
รู้หรือไม่: รูปที่มีพื้นหลังเป็นสีเขียวจะทำให้รูปนั้นดูไกลขึ้น เป็นสีที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ออร์กานิก ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น สปา
สีเขียวเข้ม การเงิน, ทะเยอะทะยาน, โลภ, หึงหวง, ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น
สีเขียวเหลืองมะนาว เจ็บไข้ได้ป่วย, หึงหวง, คลื่นไส้, ขี้ขลาด ไม่แนะนำให้ใช้สีนี้ในผลิตภัณฑ์อาหารค่ะ
สีเขียวมะกอก สงบสุข
สีเขียวอมน้ำเงิน เป็นสีที่นิยมใช้กันทั่วไปค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • จีน: การขับไล่, สมัยก่อนผู้หญิงชาวจีนที่ใส่หมวกสีเขียวหมายถึง มีชู้
  • ญี่ปุ่น: การมีชีวิต
  • อิสลาม: ความหวัง - สันนิษฐานว่าเสื้อคลุมของศาสดานั้นเป็นสีเขียว, คุณธรรม - สำหรับผู้ที่ศรัทธาอย่างแรงกล้าถึงใส่สีเขียวได้
  • ไอร์แลนด์: สีประจำชาติ
  • ยุโรป/อเมริกา: ฤดูใบไม้ผลิ, การเกิดใหม่, ความปลอดภัย, ปกป้องสิ่งแวดล้อม, คริสต์มาส (คู่กับสีแดง)
  • ฮวงจุ้ย: หยิน, ธาติไม้ สมดุล, ผสมผสานกลมกลืน, สุขภาพ, ความสงบ

สีน้ำเงิน/สีฟ้า

ความหมาย: โชคดี, การติดต่อสื่อสาร, ฉลาดเฉียบแหลม, การป้องกัน, แรงบันดาลใจ, สงบ, นุ่มนวล, น้ำ, ทะเล, ความคิดสร้างสรรค์, ลึกลับ, ท้องฟ้า, ท่องเที่ยว, อุทิศตัว, ความก้าวหน้า, อิสระ, ความรัก, ความเชื่อใจ, เห็นอกเห็นไใจ, ความเศร้า, ความกลุ้มใจ, ความมั่นคง, เป็นปึกแผ่น, ความเข้าใจ, ความมั่นใจ, การยอมรับ, การอนุรักษ์, ความปลอดภัย, คำสั่ง, สะดวกสบาย, หนาวเย็น, เทคโนโลยี, ปัญญา, ความคิด, การแบ่งปัน, ความร่วมมือกัน, ความจริงใจ, ผ่อนคลาย, มิตรภาพ, อดทน
จิตวิทยา: บางคนเชื่อว่าสีน้ำเงินหรือสีฟ้านี้ทำให้การเผาผลาญในร่างกายหรือเมตาโบลิซึ่มช้าลง และหยุดยั้งการเจริญอาหาร
รู้หรือไม่: สีน้ำเงินหรือสีฟ้าเป็นสีที่นิยมใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับเว็บไซต์เกี่ยวกับเทคโนโลยี, ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์, อุปกรณ์ทำความสะอาด, น้ำ, ทะเล, ท่องเที่ยว นอกจากนี้สีฟ้าหรือสีน้ำเงินก็เป็นสีที่คนชอบมากที่สุดมากกว่าครึ่งโลก นานัวร์ก็ชอบสีฟ้าเหมือนกันค่ะ ถ้าใช้สีฟ้าคู่กับสีน้ำเิงินเข้มจะให้ความรู้สึกน่าเชื่อถือ แต่ถ้าใช้สีฟ้าอ่อนๆ ก็จะให้ความรู้สึกสงบและนุ่มนวลค่ะ
สีน้ำเงิน ความร่ำรวย หนาวเย็น
สีน้ำเงินเข้ม ความลึก, เชี่ยวชาญ, มั่นคง, น่าเชื่อถือ, รอบรู้, เฉลียวฉลาด, เป็นสีของธุรกิจส่วนใหญ่, อบอุ่น, อำนาจ, ความจริงจัง, สุขภาพ, ความรู้, กฏหมาย, ตรรกะ, ปลอดโปร่ง
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ยุโรป: สงบ
  • อิหร่าน: โศกเศร้า
  • จีน: เป็นอมตะ
  • ฮินดู: สีของพระกฤษณะ
  • ตะวันออกกลาง: ปกป้อง
  • ฮวงจุ้ย: หยิน, ธาตุน้ำ, เงียบสงบ, ความรัก, ผ่อนคลาย, สันติสุข, ความเชื่อถือ, ผจญภัญ, การค้นหา

สีม่วง

ความหมาย: อิทธิพล, ดวงตาที่สาม, ทรงเจ้า, พลังวิเศษ, เกียรติยศ, แรงบันดาลใจ, ราชวงศ์, อำนาจลึกลับ, การเปลี่ยนแปลง, ฉลาด, เชี่ยวชาญ, โหดร้าย, หยิ่งยโส, เพ้อฝัน, จินตนาการ, ร่ำรวย, ฟุ่มเฟือย, อิสระ, ไสยศาสตร์, ความคิดสร้างสรรค์, พลังงาน, ความมั่นใจในตัวเอง, ถือตัว, ทะเยอทะยาน, หรูหรา, กำไร, ความต้องการทางเพศ, เพศที่สาม, เกย์, เลสเบี้ยน
จิตวิทยา: เด็กฝรั่งรุ่นซักประมาณประถมปลายถึงมัธยมต้นกว่า 75% เลือกสีนี้เป็นสีที่ชอบที่สุดค่ะ ไม่แน่ใจว่าเด็กไทยจะด้วยรึเปล่า พวกบริษัทผลิตของเล่นหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็กนิยมใช้สีม่วงสดเพื่อดึงดูดความสนใจค่ะ ส่วนสีม่วงอ่อนหวานๆ ก็เหมาะดีสำหรับงานออกแบบแบบผู้หญิงๆ แต่ถ้าใช้สีม่วงมากเกินไป ก็ทำให้รู้สึกอึมครึมหรือคลื่นไส้ถ้าต้องอยู่ในห้องที่มีแต่สีม่วงได้ค่ะ
สีม่วงลาเวนเดอร์ หยาง, สับสนทางเพศ, โรแมนติก, ผู้หญิง, การเปลี่ยนแปลง, อาลัยอาวรณ์
สีม่วงเข้ม ความมืด, เศร้า, ผิดหวัง, ร่ำรวย
สีม่วงอ่อน หยาง
สีม่วงไวโอเล็ต สมาธิ, ความคิดสร้างสรรค์, ความมุ่งมั่น, ความเงียบ, ความสวยงาม, แรงบันดาลใจ, ศิลปะ, ดนตรี, กามารมณ์, เสียสละ
สีม่วงอมน้ำเงิน ลึกลับ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ไทย: เศร้า
  • ญี่ปุ่น: การมีชีวิต
  • ฮวงจุ้ย: หยาง, รู้พลังลึกลับ

สีขาว

ความหมาย: เทวดา, สันติภาพ, บริสุทธิ์, สาวบริสุทธิ์, เคารพนับถือ, เลื่อมใสศรัทธา, ความเรียบง่าย, ความสะอาด, ไร้เดียงสา, หนุ่มสาว, การเกิด, หน้าหนาว, หิมะ, ความดี, ปลอดเชื้อ, หนาวเย็น, ชัดเจน, สมบูรณ์แบบ, ยุติธรรม, ความปลอดภัย, คิดบวก, บุญกุศล, ความสำเร็จ, สิ่งประดิษฐ์, เป็นเอกภาพ, เสียสละเพื่อส่วนรวม, พระเจ้า, ผู้หญิง
จิตวิทยา: ห้องสีขาวอาจทำให้อึดอัดได้ถ้าปล่อยให้โล่งๆ ไม่มีอะไรเลยค่ะ สีขาวใช้ได้ดีเมื่อใช้เป็นพื้นหลังเพราะทำให้สิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอดูเด่นขึ้นค่ะ
รู้หรือไม่: สีขาวนั้นแสดงถึงความเรียบง่าย ปลอดภัยและ สะอาด นิยมใช้กับพวกของไฮเทคทั้งหลาย เช่นคอมพิวเตอร์ และพวกอุปกรณ์ทางการแพทย์ค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ยุโรป: การแต่งงาน, นางฟ้า, โรงพยาบาล, หมอ, สันติภาพ, นม
  • ญี่ปุ่น: เศร้าโศก นิยมใช้ในงานศพ
  • จีน: ความตาย, เศร้าโศก
  • อินเดีย: ความทุกข์
  • ฮวงจุ้ย: หยาง, ความตาย, เศร้าโศก, วิญญาณบรรพบุรษ, ผี, ความมั่นใจ

สีเงิน

ความหมาย: เสน่ห์, ไฮเทค, สง่างาม, โทรจิต, ญาณทิพย์, เพ้อฝัน, พลังหญิง, การสื่อสาร, เทพธิดา, ร่ำรวยหรูหรา, สมัยใหม่
จิตวิทยา: ใช้สีเงินร่วมกับสีอื่นจะช่วยให้เป็นที่สะดุดตาค่ะ
รู้หรือไม่: ให้ใช้สีนี้ร่วมกับสีอื่น ถ้าคุณต้องการออกแบบของให้ดูไฮเทคมากขึ้นค่ะ สีเงินนี้เข้ากันได้ดีกับสีทองและสีขาวสื่อถึงความมีอำนาจค่ะ
  • ฮวงจุ้ย: หยิน, โลหะ, น่าเชื่อถือ, โรแมนติก

สีเทา

ความหมาย: ปลอดภัย, เชื่อถือได้, ฉลาด, มีเกียรติ, เงียบขรึม, ถ่อมตัว, อนุรักษ์นิยม, สำหรับคนแก่, เศร้าเสียใจ, น่าเบื่อ, มืออาชีพ, เชี่ยวชาญ, ทนทาน, มีคุณภาพ, เงียบขรึม, หม่นหมอง
  • ฮวงจุ้ย: หยิน, โลหะ, ความตาย, ทื่อ

สีดำ

ความหมาย: การปกป้อง, รังเกียจ, อำนาจ, เกี่ยวกับเพศ, เชี่ยวชาญ, เป็นทางการ, หรูหรา, ร่ำรวย, ลึกลับ, ความกลัว, ปิศาจ, ความทุกข์, ความเศร้า, ความโกรธ, สำนึกผิด, โชคร้าย, ความลับ, ความสกปรก, ความว่างเปล่า, เข้มแข็ง, เชื่อถือ, จริงจัง
จิตวิทยา: ถ้าใช้สีดำกับพื้นที่กว้างเกินไป ก็อาจทำให้รู้สึกอึมครึม หดหู่ได้ค่ะ แม้ว่าสีดำจะทำให้ดูมีมิติขึ้นก็ตาม
รู้หรือไม่: สีดำนี้ใช้ได้ดีกับเว็บไซต์ประเภทศิลปะหรือโชว์ภาพถ่ายเพราะจะทำให้รูปภาพดูเด่นขึ้นค่ะ แต่ถ้าใช้สีดำเป็นพื้นหลังของตัวอักษรแล้ว อาจจะทำให้อ่านยากขึ้นค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
  • ยุโรป: งานศพ, ความตาย
  • จีน: เป็นสีของเด็กผู้ชาย
  • ไทย: โชคร้าย, ความทุกข์, ผีสาง
  • ฮวงจุ้ย: หยิน, น้ำ, เงินทอง, รายได้, อำนาจ, ความมั่นคง, อำนาจชั่วร้าย

รายชื่อผู้จัดทำ

รายชื่อผู้จัดทำ 

นางสาวสุนทรี        พรมมา  รหัสนักศึกษา 5704501708 
นางสาวสุภาพรรณ วันสอน  รหัสนักศึกษา 5504018309 

รายวิชา ECT 3503 การใช้สื่อการเรียนรู้ Utilization of learning media 
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้สอน อาจารย์ ดร . ศยามน อินสะอาด

วรรณะของสี

วรรณะของสี
วรรณะของสี  คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น

แม่สี (PRIMARIES) 
สีต่างๆนั้นมีอยู่มากมายแหล่งกำเนิดของสีและวิธีการผสมของสีตลอดจนรู้สึกที่มีต่อสีของมนุษย์แต่ละกลุ่มย่อมไม่เหมือนกัน สีต่างๆที่ปรากฎนั้นย่อมเกิดขึ้นจากแม่สีในลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดและประเภทของสีนั้น
แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม
แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ
สีแดง
สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี
คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสี
ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น (ดูเรื่อง แสงสี )
2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวน
ทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้
งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี
ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน
วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
วงจรสี   ( Colour Circle) สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้
เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว

 สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ
อีก 6  สี คือ
สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง

 วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ
สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่าง
รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส
เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี

สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมี
คุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน
แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติ
ที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนัก
อ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา

แม่สีวัตถุธาตุ (PIGMENTARY RRIMARIES) 
แม่สีวัตถุธาตุนั้นหมายถึง “วัตถุที่มีสีอยู่ในตัว” สามานำมาระบาย ทา ย้อม และผสมได้เพราะมีเนื้อสีและสีเหมือนตัวเอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แม่สีของช่างเขียนสีต่างๆจะเกิดขึ้นมาอีกมากมาย ด้วยการผสมของแม่สีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 สีคือ
1. น้ำเงิน (PRUSSIAN BLUE)
2. แดง (CRIMSON LEKE)
3. เหลือง (GAMBOGE TINT)

สีแดง (CRIMSION  LAKE) สะท้อนรังสีของสีแดงออกมาแล้วดึงดูดเอาสีน้ำเงินกับสีเหลืองซึ่งต่างผสมกันในตัวแล้วกลายเป็นสีเขียว อันเป็นคู่สีของสีแดง
สีเหลือง (GAMBOGE YELLOW) สะท้อนรังสีของสีเหลืองออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีน้ำเงินซึ่งผสมกัน ในตัวแล้วกลายเป็นสีม่วง อันเป็นคู่สีของสีเหลือง
สีน้ำเงิน (PRESSION BLUE) สะท้อนรังสีของสีน้ำเงินออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีเหลืองเข้ามาแล้วผสมกันก็จะกลายเป็นสีส้ม ซึ่งเป็นคู่สีของสีน้ำเงิน

ทฤษฎีสี

ทฤษฎีสี  
สี(COLOUR) หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง
คำจำกัดความของสี 
1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้
2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน
3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี
คุณลักษณะของสี
สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู
สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
ประวัติความเป็นมาของสี 
มนุษย์เริ่มมีการใช้สีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีทั้งการเขียนสีลงบนผนังถ้ำ ผนังหิน บนพื้นผิวเครื่องปั้นดินเผา และที่อื่นๆภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ(ROCK PAINTING) เริ่ม ทำตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในทวีปยุโรป โดยคนก่อนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยหินเก่าตอนปลาย ภาพเขียนสีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้พบที่ประเทศฝรั่งเศษและประเทศสเปนในประเทศ ไทย กรมศิลปากรได้สำรวจพบภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำ และ เพิงหินในที่ต่างๆ จะมีอายุระหว่าง 1500-4000 ปี เป็นสมัยหินใหม่และยุคโลหะได้ค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ครั้งแรกพบบนผนังถ้ำในอ่าวพังงา ต่อมาก็ค้นพบอีกซึ่งมีอยู่ทั่วไป เช่น จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี เป็นต้นสีที่เขียนบนผนังถ้ำส่วนใหญ่เป็นสีแดง นอกนั้นจะมีสีส้ม สีเลือดหมู สีเหลือง สีน้ำตาล และสีดำสีบนเครื่องปั้นดินเผา ได้ค้นพบการเขียนลายครั้งแรกที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ.2510 สีที่เขียนเป็นสีแดงเป็นรูปลายก้านขดจิตกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆสมัยสุโขทัยและอยุธยามีหลักฐานว่า ใช้สีในการเขียนภาพหลายสี แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเพียง 4 สี คือ สีดำ สีขาว สีดินแดง และสีเหลืองในสมัยโบราณนั้น ช่างเขียนจะเอาวัตถุต่างๆในธรรมชาติมาใช้เป็นสีสำหรับเขียนภาพ เช่น ดินหรือหินขาวใช้ทำสีขาว สีดำก็เอามาจากเขม่าไฟ หรือจากตัวหมึกจีน เป็นชาติแรกที่พยายามค้นคว้าเรื่องสีธรรมชาติได้มากกว่าชาติอื่นๆ คือ ใช้หินนำมาบดเป็นสีต่างๆ สีเหลืองนำมาจากยางไม้ รงหรือรงทอง สีครามก็นำมาจากต้นไม้ส่วนใหญ่แล้วการค้นคว้าเรื่องสีก็เพื่อที่จะนำมาใช้ ย้อมผ้าต่างๆ ไม่นิยมเขียนภาพเพราะจีนมีคติในการเขียนภาพเพียงสีเดียว คือ สีดำโดยใช้หมึกจีนเขียน
สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สีธรรมชาติ
2. สีที่มนุษย์สร้างขึ้น
สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล
 สีที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสงประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่

ระบบสี (Color Model)


ระบบสี ( Color Model )
ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ   ดังนั้นจึงควรทราบระบบสี
ของคอมพิวเตอร์ก่อน ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive

สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไป มี 4 ระบบ คือ
1. RGB
2. CMYK
3. HSB
4. LAB

1. RGB เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ แดง ( Red)เขียว ( Green) และน้ำเงิน ( Blue) เมื่อนำมาผสมผสานกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก 



2. CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย สีหลัก 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta)สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำ แต่จะไม่ดำสนิท เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูด กลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลัก ของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB




3. HSB 
     เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Hue คือ สีต่าง ๆ สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักจะเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว  สีเหลือง สีแดง เป็นต้น Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมากBrightness คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด 

4. LAB เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ "L" หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว "A" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง "B" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง